เสียงในภาษาไทย
มี ๓ ชนิด คือ
๑.) เสียงสระ
หรือเสียงแท้
เสียงสระ
หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง
ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน
และออกเสียงได้ยาวนาน
๒.)
เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร
เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร
คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ
ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทยมี ๒๑
เสียง ๔๔ รูป
๓.)
เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี
เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี ก็ คือ เสียงสระ
หรือเสียงพยัญชนะ ซึ่งเวลาเปล่งเสียงแล้วเสียงจะมีระดับสูง ต่ำ
เหมือนกับเสียงดนตรี สำหรับเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษาไทยมี ๕ เสียง ๔ รูป